Mina

Mina

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

Grammatical Structure - Moods

Moods

คำกริยาแสดงทัศนคติในภาษาอังกฤษนั้นแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่


1.
Indicative Mood: แสดงถึงการบ่งชี้ การยืนยัน การปฏิเสธ หรือคำถาม เช่น

Little Rock is the capital of Arkansas.

Ostriches cannot fly.
Have you finished your homework?

2.
Imperative Mood: แสดงถึงการออกคำสั่ง ข้อห้าม การขอร้อง หรือ คำแนะนำ เช่น  

Don’t smoke in this building.

Be careful!
Don’t drown that puppy!

3.
Subjunctive Mood: แสดงถึงการมีข้อสงสัย หรือ ข้อขัดแย้งกับความเป็นจริง เช่น

If I should see him, I will tell him.

Americans are more likely to say:
If I see him, I will tell him.

The verb may can be used to express a wish:
May you have many more birthdays.

May you live long and prosper.

The verb were can also indicate the use of the subjunctive:
If I were you, I wouldn’t keep driving on those tires.

If he were governor, we’d be in better fiscal shape.
ผู้ใช้ระบบสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Subjunctive ได้ที่บทเรียนดังต่อไปนี้

SUBJUNCTIVE


    Subjunctive หมายถึง ประโยคที่แสดงความต้องการ ความปรารถนา และเงื่อนไขสมมุติที่ต้องการ จะให้เป็น หรืออาจจะเป็นไปได้ หรือเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันและในอดีต
โดยปกติ Subjective สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังต่อไปนี้ครับ

Subjunctive แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

   1. Present Subjunctive
   2. Past Subjunctive
   3. Past perfect Subjunctive

ซึ่ง Subjective แต่ละประเภทมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  1. Present Subjunctive

Present Subjunctive หมายถึง ประโยคที่แสดงความต้องการ ความจำเป็นและความปรารถนาที่เป็นไปได้ แยกออกเป็น 3 ประการ ได้แก่

   1.1. แสดงความต้องการ (Demands or Requests) กริยาที่ใช้ในประโยคนั้นใช้โครงสร้างรูปประโยคดังต่อไปนี้

         Subj. + V. + that + Subj. + (should) + infinitive without to

   กริยาที่นิยมใช้ในโครงสร้างนี้ได้แก่

        advise (แนะนำ, สั่งสอน)
        ask (ขอร้องว่าควร)
        command (สั่ง)
        demand (ต้องการ, ร้องขอ)
        suggest (แนะนำ)
        insist (ยืนกราน)
        move (เสนอ)
        order (สั่ง)
        prefer (ชอบมากกว่าที่จะ)
        urge (กระตุ้น)
        propose (เสนอ)
        recommend (แนะนำ)
        request (ขอร้อง)
        require (ต้องการ)
        command that = สั่งว่าต้อง
        decree that = บัญชาว่า


   ตัวอย่าง เช่น

         She insisted that I (should) be here at seven o'clock.
         หล่อนได้ยืนกรานว่าคุณควรจะมาที่นี่ตอน 7 โมงเช้า

         I suggested that she (should) come early.
         ผมแนะนำว่าคุณควรจะมาที่แต่เช้า

   1.2. แสดงความจำเป็น (Necessities)
กริยาที่ใช้ในประโยคนั้นใช้โครงสร้างรูปประโยคดังต่อไปนี้

         It is important that + subj. + (should) + infinitive

    คำที่ใช้แสดงความจำเป็นส่วนใหญ่จะเป็นคำคุณศัพท์ (Adjective) เช่น necessary, essential, imperative, advisable, significant เป็นต้น ตัวอย่างเช่น

         It is advisable that you should go meet the doctor.
         เป็นการสมควรที่ว่าคุณควรจะไปพบแพทย์

         It is essential that you should have your own cellphone.
         เป็นการจำเป็นที่ว่าคุณควรจะมีโทรศัพท์มือถือเป็นของตัวเอง

         It is crucial that you should speak French with others.
         จำเป็นยิ่งที่ว่าคุณควรจะพูดภาษาฝรั่งเศสกับคนอื่นๆ

         It is better that you should be there early.
         เป็นการดีกว่าที่ว่าคุณควรจะอยู่ที่นั่นก่อนเวลา
       
         It is desirable that you should deserve that award.
         เป็นการสมควรที่ว่าคุณควรจะได้รับรางวัลนั้น 

   1.3. แสดงความปรารถนา (Wishes) ได้แก่ประโยคที่ขึ้นต้นด้วย

         It is (my, his etc.) wish that + subj. + (should) + infinitive without to

นอกจากนี้ก็บังมีคำอื่นๆอีกมากมายที่สามารถใช้ในโครงสร้าง Present Subjunctive ทั้ง 3 ข้างต้น

         decree that = บัญชาว่า
         demand that = เรียกร้องว่า
         desire that = ปรารถนาให้เป็นว่า
         It is imperative that = เป็นการจำเป็นที่ว่า, เป็นการรีบด่วนที่ว่า
         insist that = ยืนกรานว่าจะต้อง
         It is important that = เป็นการสำคัญที่ว่า
         move that = เสนอว่า
         It is necessary that = เป็นการจำเป็นที่ว่า
         maintain that = ยืนยันว่า
         It is preferable that = เป็นการดีกว่าว่า, เป็นการสมควรกว่าที่ว่า
         order that = สั่งว่าต้อง
         It is resolved that = ลงมติว่า
         pray that = อ้อนวอนว่า
         It is right that = ลงมติว่า
         prefer that = อยากให้เป็นว่า...มากกว่า
         It is strange that = เป็นการแปลกที่ว่า
         propose that = เสนอว่าควร
         It is urgent that = เป็นการด่วนที่ว่า
         recommend that = แนะว่าควร
         request that = ขอร้องว่าควร
         require that = กำหนอว่าต้อง
         stipulate that = ระบุว่า
         suggest that = แนะว่าควร
         urge that = กระตุ้นว่าควร

 
2. Past Subjunctive
Past Subjunctive หมายถึง ประโยคที่แสดงความปรารถนา ที่ไม่เกิดขึ้นจริงหรือตรงข้ามกับความเป็นจริงในปัจจุบัน (Present Unreal) คำที่แสดง Past Subjunctive ได้แก่ wish, if only, as if, as though ประโยคเหล่านี้ กริยาจะเป็น Past tense สำหรับ verb to be ใช้ were กับทุกบุรุษ

ตัวอย่าง

      I wish I were Big John. (but I am not)
      I wish I were a millionaire. (but I am not)
      He wishes he finished his work. (but he doesn't)

 
3. Past Perfect Subjunctive


Past Perfect Subjunctive หมายถึง ประโยคที่แสดงความปรารถนาที่ไม่เกิดขึ้นจริง หรือตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต (Past Unreal) คำที่แสดง Past Perfect Subjunctive ได้แก่ wish, if only, as if, as though ประโยคที่ตามหลังคำเหล่านี้กริยาจะเป็น past perfect tense

โครงสร้างในการใช้ wish, if only มีดังต่อไปนี้


     ประธาน + wish (es) + (that) ประธาน+กริยาช่องที่ 2
                     If only + (that) ประธาน+กริยาช่องที่ 2

ตัวอย่าง

    I wish she had gone to the party last night. (but she didn't)
    He wished he had been here yesterday. (but he didn't)

หมายเหตุ นอกจาก wish, if only, as if, as though จะใช้แสดง Past Subjunctive และ Past perfect Subjunctive แล้วยังมีวลีและคำอื่น ๆ ที่ใช้ในลักษณะเดียวกันอีกได้แก่


    it's time = ถึงเวลาแล้ว
    would rather = อยากจะ...มากกว่า
    it's high time = สมควรแก่เวลาแล้ว
    would sooner = อยากจะ...มากกว่า
    it's about time = จวนจะได้เวลา
    supposed (that) = สมมติว่า

ตัวอย่าง เช่น

     It is time students had breakfast.
     It's about time the class began.
     It’s high time Big John gave up smoking
หลักการการใช้ Wish สำหรับหลักการใช้ Wish นั้นอาจารย์ขออธิบายไปตามลำดับโดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.wish จะใช้แสดงความปรารถนาในปัจจุบัน อดีตและอนาคต
โดยใช้โครงสร้าง to wish (that) + noun clause ซึ่งประโยคที่ใช้ตามหลัง wish นั้นเป็นประโยคแสดงสิ่งที่ปรารถนาซึ่งตรงข้ามกับความเป็นจริง หรือปรารถนาในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ซึ่งมีวิธีใช้ ดังนี้

    1.1 ความปรารถนาในปัจจุบัน
        
      wish + Past Simple (wish = If only ซึ่งใช้แทนกันได้)
   If only

     ตัวอย่างเช่น

    - Do you wish you lived in America now?
    - I wish I could speak German.
    - We wish we weren't so tired.

     ประโยคทั้ง 3 ข้างต้นนี้ ความเป็นจริงมิได้เป็นอย่างที่ปรารถนา เมื่อเรานึกถึงความเป็นจริงที่เกิดขึ้น เราใช้ "I'm sorry" หรือ "It's a pity" แสดงความจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เราใช้ I'm sorry หรือ It's a pity + Present Simple

    - Do you wish you lived in America now? (ความปรารถนาในปัจจุบัน)
      (=Are you sorry / Is it a pity you don't live in America now? - ความจริงในปัจจุบัน)

    - I wish I could speak German. (ความปรารถนาในปัจจุบัน)
      (= I'm sorry/ It's a pity I can't speak German. -- ความจริงในปัจจุบัน)

    - We wish we weren't so tired. (ความปรารถนาในปัจจุบัน)
      (= I'm sorry / It's a pity we are so tired. --- ความจริงในปัจจุบัน)

ดังนั้นการใช้ wish ต้องดูว่าเป็นความปรารถนาในปัจจุบัน อดีต หรืออนาคต

      1.2 ความปรารถนาในอนาคต


         wish + S + would + V1
      (If only)

ตัวอย่างเช่น

     - I wish I could go with Big John next week. (ถ้าประธานเป็นคนเดียวกัน ใช้ could)
       (If only I could go with Big John next week.)

     - I wish Jane would come to my wedding ceremony tomorrow evening.
       (= It's a pity Jane won't come.)

     - He wishes he could fix this cell phone.
      (=It's a pity he can't fix this cell phone.)

     - She wishes I would go abroad with her.
       (=I'm sorry I won't go abroad with her.)

      3.3 ความปรารถนาในอดีต

          wish + Past Perfect
       If only

         เป็นการแสดงความปรารถนาสิ่งที่ไม่อาจเป็นจริงขึ้นมาได้ และตรงข้ามกับความเป็นจริงในอดีต
ตัวอย่างเช่น

     - I wish you had been here yesterday. ฉันปรารถนาว่าคุณอยู่ที่นี่เมื่อวานนี้
       (= It's a pity you weren't here yesterday.) ความเป็นจริงคือเมื่อวานคุณไม่ได้อยู่ที่นี่

     - I wish it hadn't rained heavily yesterday. ความปรารถนาเหตุการณ์ในอดีต
       (=It's a pity it rained heavily yesterday. ความจริงในอดีต)

     - I wish I had worked harder last semester. ความปรารถนาเหตุการณ์ในอดีต
       (= It's a pity I didn't work harder last semester. ความเป็นจริงในอดีต)

     - If only the weather had been better yesterday. ความปรารถนาในอดีต
       (=It's a pity the weather wasn't better yesterday. ความเป็นจริงในอดีต)
2.wish ที่ให้ความหมายเช่นเดียวกับคำว่า want (ต้องการ,ปรารถนา) จะต้องใช้โครงสร้าง Subj. + wish + (object) + to + infinitive ตัวอย่างเช่น

        He wishes to be an engineer.
        เขาปรารถนาที่จะเป็นวิศวกร

        She wished him to come here.
        เธอปรารถนาให้เขามาที่นี่
ลักษณะการใช้ Wish
การใช้ Wish ที่ให้ความหมายว่า ต้องการหรือปรารถนา มีการใช้กี่ลักษณะครับ?
1.
การใช้ Wish ที่ให้ความหมายว่า ‘ปรารถนาดีหรือต้องการ’ มีการใช้อยู่ 2 ลักษณะดังนี้

   
1.1 to wish (someone) to do something
       
        wish + to + V1

   เป็นความปรารถนาหรือต้องการ ทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น

     - We wish to book some seats for the concert.
     - Do you wish to sit here, sir?
     - She wishes to go to the party.
  
   
1.2. to wish someone something

       wish + Noun + Noun

      เป็นความปรารถนาให้ผู้อื่น ได้รับความสุขสำเร็จหรือสิ่งที่ดีงาม ตัวอย่างเช่น

      - We wish him all the best.
      - I wish you a Happy New Year.
      - I wish you success and happiness.
      - I wish you a Merry Christmas.
      - I wish you the very best of luck.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น