Mina

Mina

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

Grammatical Structure-Conditional Clauses (If-clause)

Conditional Clauses (If-clause)
              ประโยคแบบเงื่อนไข
       
If Clause หรือ Conditional Clause หมายถึง ประโยคที่แสดงหรือกำหนดเงื่อนไข เกิดขึ้นในเวลาที่ต่างๆ กัน แต่เวลาที่พูดนั้นเกิดขึ้นในขณะปัจจุบันรูปกริยาที่ต่างกันใน If-clause เป็นเพียงตัวบ่งชี้ให้ทราบว่าเป็นเงื่อนไขแบบใดเท่านั้น
ประโยค If-clause (ประโยคเงื่อนไข) จะประกอบด้วย
    1. ส่วนที่เป็นเงื่อนไข (If Clause)
    2. ส่วนที่เป็นข้อความหลัก (Main Clause)
1. If-clause แบบที่1 (Present possible condition) ช้สมมุติในสิ่งที่เป็นไปได้และเป็นจริง ประโยค if-clause เป็น present simple ประโยค main-clause จะเป็น future simple
             if-clause ==>S.+ v.1

             main-clause ==> S.+will, shall, can, may + v.1
             If Clause + future tense
ตัวอย่างเช่น
     - If it doesn't rain tomorrow, we will go to the beach.
       ถ้าฝนไม่ตกพรุ่งนี้ เราอาจจะไปทะเลกัน
     - I will be able to do this exercise if I try hard enough.
       ผมอาจจะทำแบบฝึกหัดนี้ได้ ถ้าผมพยายามมากกว่านี้
ถ้าเป็นความจริงเสมอ main-clause ให้ใช้ present simple ตัวอย่างเช่น
     - If the ice falls into the water, it floats.
       ถ้าน้ำแข็งร่วงลงไปในน้ำมันจะลอย
กริยาใน main-clause เป็นคำสั่ง หรือ ขอร้อง ให้ใช้ present simple ตัวอย่างเช่น
     - If the teacher asks you, tell him the truth. (คำสั่ง)
         ถ้าอาจารย์ถามนาย บอกความจริงกับเขา

     - If you leave, please turn off the light. (ขอร้อง)
        ถ้าคุณออกไป กรุณาปิดไฟด้วยน๊ะ

If-clause แบบที่ 1 นี้ สามารถใช้ should แทน if ได้

     - Should he refuse to leave, telephone Mr. John.
       เขาควรที่จะปฏิเสธว่าจะออกจากที่นี่หรือโทรหาคุณ จอห์น
    = If he refuses to leave, telephone Mr. John.
       ถ้าเขาปฏิเสธที่จะออกจากที่นี่ เขาควรโทรหาคุณจอห์น
unless = if not; ประโยคหลัง unless จะเป็นประโยคบอกเล่า ไม่อย่างนั้นจะเป็นปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ

     - Sarah will not come unless she has time.
       ซาร่าห์อาจจะไม่มาเว้นเสียแต่ว่าเธอจะมีเวลา
     - Sarah will not come if she has no time.
       ซาร่าห์อาจจะไม่มาถ้าเธอไม่มีเวลา


2. If-clause แบบที่2 (Present impossible condition) ใช้สมมุติในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้หรือไม่เป็นจริงในปัจจุบัน ประโยค if-clause เป็น past simple ประโยค main-clause จะเป็น future in the past หรือ conditional tense
      if-clause ==> S.+v.2

      main-clause ==>S.+ would, should, could, might + v.1
ตัวอย่างเช่น
     - If I had more time, I would read more books. [ขณะปัจจุบันนี้ไม่มีเวลามากพอ]

     - If I were you, I would not let him say such things. [ใช้ were กับทุกบุรุษ ไม่ใช้ was]
เราสามารถละ if โดยเอากริยาช่วย were ในประโยค if-clause มาไว้หน้าประโยคแทน

     - If he were to leave (If he left) )today, he would be there by Friday.
    = Were he to leave today, he would be there by Friday.

3. If-clause แบบที่3 (Past impossible condition) ใช้สมมติในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้เลย หรือตรงกันข้ามกับความจริงในอดีต ประโยค if-clause เป็น past perfect ประโยค main-clause จะเป็น future perfect in the past หรือ perfect conditional
       if-clause ==> S.+had + v.3

       main-clause ==>S.+ would, should, could, might + have + v.3
ตัวอย่างเช่น
     - If I had had her e-mail address, I would have written to her.
        ถ้าผมมีอีเมลล์ของเธอ ผมอาจจะเขียนหาเธอตั้งนานแล้ว
** ถ้าเป็นเหตุการณ์ในอดีตกับปัจจุบันสังเกตจาก now ให้เปลี่ยน Tense ใน main-clause จาก would have + v.3 เป็น would + v.1

ตัวอย่างเช่น
     - If there had been no floods last year, the crop would be better now.
       ถ้าน้ำไม่ท่วมเมื่อปีที่แล้ว พืชพันธุ์ทางการเกษตรคงจะดีขึ้นในวันนี้
เราสามารถละ if โดยเอากริยาช่วย had ในประโยค if-clause มาไว้หน้าประโยคแทน

     - If I had known that, I would have lent you mine.

    = Had I known that, I would have lent you mine.
      
ถ้าฉันรู้อย่างนั้น ฉันจะให้คุณยืมของฉันตั้งนานแล้ว
*หมายเหตุ: นอกจากคำว่า if  แล้ว ยังมีคำอื่นๆที่ใช้ในประโยคเงื่อนไข ได้แก่
      a) suppose หรือ supposing = สมมุติว่า
      b) on condition that หรือ on the condition that = โดยมีเงื่อนไขว่า
      c) so long as หรือ as long as = ถ้า, ตราบใดที่
      d) what if = สมมุติว่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น