Mina

Mina

วันศุกร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2555

Grammatical Structure - Noun Clause

Noun Clause
อนุประโยคที่ทำหน้าที่เหมือนคำนาม

Noun Clause
คือ อนุประโยค (Subordinate clause) ประเภทหนึ่ง ที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนาม (noun) ในประโยค ซึ่งในการสนทนาพูดคุย ติดต่อสื่อสารในชีวิตประจำวันเราอาจจะใช้ Noun clause แต่เรามักไม่รู้ตัวว่าเรากำลังใช้ Noun clause อยู่ ซี่ง Noun clause นี้มักจะปรากฏทั้งในภาษาพูดและภาษาเขียน ตัวอย่างเช่น
     Big John thinks he should practice meditation twice a week.
     บิ๊ก จอห์นคิดว่าเขาควรจะฝึกสมาธิอาทิตย์ละครั้ง
     Sam thinks he had better stop smoking now.
     แซมคิดว่าเขาควจะหยุดสูบบุหรี่แล้วตอนนี้
     We all hope you will be happy with our service.
     ทางเราหวังว่าคุณจะมีความสุขกับการของเราน๊ะครับ
     I don’t understand Big John wants to convey.
     ผมไม่เข้าใจในสิ่งที่ Big John ต้องการจะสื่ออะไร/ผมไม่เข้าใจในสิ่งที่ Big John ต้องการจะสื่อเลย
จากตัวอย่างประโยคข้างต้นบางครั้งบางครั้งมักสร้างความสับสนไม่น้อยให้กับผู้เรียน เพราะมีการละ (omit) relative pronoun ทิ้ง ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่าประโยคที่ตามหลังเป็นอนุประโยค (subordinate clause/dependent clause) ซึ่งประโยคเต็มคือ
      Big John thinks (that) he should practice meditation twice a week.
      Sam thinks (that) he had better stop smoking.
     We hope (that) you will be happy with our service.
      I don’t understand (what) Big John wants to convey.
เมื่อ Noun clause ทำหน้าที่เสมือนเป็นคำนาม ดังนั้น Noun clause จึงสามารถปรากฏอยู่ในตำแหน่งที่คำนามปรากฏได้ทุกตำแหน่ง คือ เป็นประธาน (Subject) และกรรม (object) จะเป็นประธานหรือกรรมอย่างไรนั้น มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
หน้าที่และตำแหน่งของ noun clause
      1.มีตำแหน่งอยู่หน้าประโยคหรือหน้ากริยาทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค (Subject noun clause)
      2.มีตำแหน่งอยู่หลังกริยา ทำหน้าที่เป็นกรรม (Object noun clause)
      3.มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท (Object of preposition)
        4.มีตำแหน่งอยู่หลัง V.to be ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน (Subject complement)

1.หน้าที่เป็นประธานอยู่หน้าประโยค (Subject)
โดยปกติแล้ว คำนามหรืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นประธานในประโยคมักจะปรากฏอยู่หน้ากริยาหรือหน้าประโยค ตัวอย่างเช่น
      What Big John ought to do now is concentrating on working.
      สิ่งที่บิ๊ก จอห์นควรจะทำตอนนี้ก็คือตั้งใจทำงาน
จากประโยคข้างต้น what Big John ought to do noun เป็น noun clause อยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
      What they should do during meditating is keeping silent.
      สิ่งที่พวกเขาควรจะทำในระหว่างที่ปฏิบัติธรรมนั่นคือการรักษาสงบ/ ไม่ส่งเสียงดัง
จากประโยคข้างต้น what they should do during meditating เป็น noun clause อยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
      What he said drives her angry.
      สิ่งที่เขาพูดทำให้หล่อนโกรธ
จากประโยคข้างต้น what he said เป็น noun clause อยู่หน้าประโยค ทำหน้าที่เป็นประธานของประโยค
2.ทำหน้าเป็นกรรมของกริยา (Subject of verb) ตำแหน่งอยู่หลังกริยา
ตัวอย่างเช่น
       I suggest you that you should go to a movie with me tonight.
       ผมแนะนำว่าคุณควรจะไปดูหนังกับผมคืนนี้
จากประโยคข้างต้น that we should go to a movie tonight อยู่หลังกริยา suggest เป็นกรรมตรง (Direct object) ของ suggest ตามหลังกรรมรอง (Indirect object)
      I don’t understand what you all are talking about.
      ผมไม่เข้าว่าพวกคุณกำลังพูดถึงอะไรอยู่
จากประโยคประโยค what you all are talking about เป็นกรรม (object) ของ understand
      If you know what is best for you, you should keep doing it.
      ถ้าคุณรู้ว่าสิ่งไหนที่ดีกับตัวคุณ คุณควรจะทำหรือสานต่อมันไปเรื่อยๆ
จากประโยคประโยค what is best for you เป็นกรรม (object) ของ know
      My mum only wants what is best for me.
     แม่ของผมเพียงต้องการให้ผมเจอหรือพบแต่สิ่งที่ดีที่สุด
จากประโยคประโยค what is best for you เป็นกรรม (object) ของ wants
     I know what is best of me.
     ผมรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับตัวผม
จากประโยคประโยค what is best of you เป็นกรรม (object) ของ know
     She loves and who he is always and forever.
     หล่อนรักในสิ่งที่เป็นเขาเสมอและจะรักตลอดไป
จากประโยคประโยค what is best of you เป็นกรรม (object) ของ know
     I don’t care how old you are, who you are, where you are from and what religion you believe.
     ฉันไม่สนใจว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ หรือคุณเป็นใคร มาจากไหน หรือจะนับถือศาสนาอะไร
จากประโยคมี Noun clauses 3 ตัวคือ how old you are, who you are, where you are from, what religion you believe ทุกตัวมีตำแหน่งอยู่หลังกริยา care ทำหน้าที่เป็นกรรมของกริยา care
     You should do what I told you.
      คุณควรจะทำสิ่งในสิ่งที่ผมได้บอกคุณไปแล้ว
จากประโยคประโยค what I told you เป็นกรรม (object) ของ do
      I don’t know where Big John is.
      ผมไม่รู้ว่าบิ๊ก จอห์นอยู่ที่ไหน
จากประโยคประโยค where Big John is เป็นกรรม (object) ของ know
3.มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท ทำหน้าที่เป็นกรรมของบุรพบท (Object of preposition)
ตัวอย่างเช่น
      Big John knows all along about what is best for him.
      บิ๊ก จอห์นรู้มาโดยตลอดเกี่ยวกับสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเขาคืออะไร
จากประโยคข้างต้น what he want is best for him เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) about ทำหน้าที่เป็นกรรมของ about
      I thank you so much for what you gave to me all along.
      ผมขอบคุณมากๆสำหรับสิ่งที่คุณหยิบยื่นให้ผมมาโดยตลอด
จากประโยคข้างต้น what you gave to me เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) for ทำหน้าที่เป็นกรรมของ for
      Sam knows all along about what he wants the most in his life.
     แซมรู้มาโดยตลอดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาต้องการที่สุดในชีวิตของเขา
จากประโยคข้างต้น what he wants the most in his life เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) about ทำหน้าที่เป็นกรรมของ about
     The pupils don’t pay attention to listening to what their teacher are teaching.
จากประโยคข้างต้น what their teacher are teaching เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) to ทำหน้าที่เป็นกรรมของ to
     Big John is always proud of where he was born.
     บิ๊ก จอห์นภูมิใจในบ้านเกิดของตนเองเสมอ
จากประโยคข้างต้น where he was born เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) of ทำหน้าที่เป็นกรรมของ of
     You shouldn’t be ashamed of who you are.
     คุณไม่ควรละอายว่าคุณเป็นใคร
จากประโยคข้างต้น who you are เป็นคำนาม มีตำแหน่งอยู่หลังบุรพบท (Preposition) of ทำหน้าที่เป็นกรรมของ of
      I hope you will be blissful with what you do.
      ฉันหวังว่าคุณจะมีความสุขกับสิ่งที่คุณทำน๊ะ
4.มีตำแหน่งอยู่หลัง V.to be ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายประธาน (Subject complement)
ตัวอย่างเช่น
      She is who he wants the most in his life.
      เธอคือสิ่งที่เขาต้องการที่สุดในชีวิต
จากประโยคข้างต้น who he wants the most in his life มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน She เพื่อบ่งชี้หรือขยายความว่า She คือใคร
      Practicing meditation is what makes your mind pure, tranquil and stable.
      การฝึกสมาธิคือสิ่งที่ทำให้จิตของคุณสะอาด สงบ มั่นคงแน่วแน่ไม่วอกแวก
     The stability of life is what Big John wants the most in his life.
     ความมั่นคงในชีวิตคือสิ่งที่บิ๊ก จอห์นต้องการที่สุด
จากประโยคข้างต้น what Big John wants the most in his life มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน the stability of life เพื่อบ่งชี้หรือขยายความ the stability of life
     Keeping silent is what you should do during practicing meditation.
     การรักษาความสงบไม่ส่งเสียงดังคือสิ่งที่ควรกระทำระหว่างที่ปฏิบัติธรรม
จากประโยคข้างต้น what you should do during practicing meditation มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน keeping silent เพื่อบ่งชี้หรือขยายความ keeping silent
      Amanda is who Big John used to love before.
      อแมนด้าคือผู้หญิงคนที่บิ๊ก จอห์นเคยรักมาก่อน
จากประโยคข้างต้น who Big John used to love before มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) is ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน Amanda เพื่อบ่งชี้หรือขยายประธาน Amanda
      Kissing and cuddling are what you all ought not to perform in the abbey or any other sacred places.
      การกอดและการจูบกันคือสิ่งที่พวกคุณไม่ควรกระทำภายในวัดหรือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ
จากประโยคข้างต้น what you all ought not to perform in the abbey or any other sacred places มีตำแหน่งอยู่หลังกริยาช่วย (V.to be) are ทำหน้าที่เป็นส่วนขยายหรือเป็นส่วนสมบูรณ์ของประธาน Kissing and cuddling เพื่อบ่งชี้หรือขยายประธาน Kissing and cuddling
Noun clause ที่ทำหน้าที่เป็นกรรมนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้
      1.Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "that"
      2.Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย "Wh-Words" (Question Words)
      3.Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "if" หรือ "whether"

1. การใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า "That"
การใช้ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย that มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
  1.1. ใช้ตามหลังกริยา (Verb) บางตัวที่แสดงความรู้สึก ความคิด หรือ ความคิดเห็น เช่น think, feel, remember, know, suggest, believe, forget, realize, think, doubt, hope, recognize, understand, agree ตัวอย่างเช่น
      We think that we’ve got to go now.
      พวกเราคิดว่าพวกเราจะต้องไปแล้วล่ะตอนนี้
      Big John knows all along that his mum loves him so much.
      บิ๊ก จอห์นรู้มาโดยตลอดว่าแม่รักเขามากๆ
  1.2. ถ้าเป็นภาษาพูด เรามักจะละคำว่า that ซึ่งเป็น relative pronoun หรือคำขึ้นที่ขึ้นต้นอนุประโยค (clause) เช่น
      He thinks that he should give up talking now. (Formal, written language)
      He thinks he should give up talking now. (Informal, spoken language)
      เขาคิดว่าเขาควรจะหยุดพูดเสียทีตอนนี้
   1.3. ส่วนใหญ่กริยา (verb) ที่ปรากฏอยู่ใน main clause มักจะเป็น Present Simple Tense ธรรมดาส่วนกริยา (Verb) ใน noun clause จะเป็น tense อะไรก็ได้ เช่น
         I think Big John is writing his column now.
       ผมคิดว่าบิ๊ก จอห์นกำลังเขียนคอลัมน์ของเขาอยู่ตอนนี้
       I think Big John will write his column soon.
       ผมคิดว่าบิ๊ก จอห์นจะเขียนคอลัมน์ของเขาในเร็วๆนี้
       I think Big John has already written his column a moments ago.
       ผมคิดว่าบิ๊กจอห์น ได้เขียนคอลัมน์ของเขาเสร็จแล้วเมื่อครู่ที่ผ่านมา
   1.4. ในการสนทนา ถ้าต้องการหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด noun clause ซ้ำ สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง main clause ได้ เช่น
       Dave: Do you think that Sarah will come here tomorrow morning?
       Big John: I think so.
(So แทน that Sarah will come here tomorrow morning.)
      Darren: Do you expect that your kid gets a good grade?
      Remco: I expect so.
(So แทน that my kid gets a good grade.)
      Natalie: Are we ready to move into this house?
      kate: I’m afraid not.
(not แทน that we are not ready to move into this house.)

2. การใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words

การใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words (what, where, when, why,who, how) มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    2.1. Noun Clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Indirect wh-questions และแม้ว่า noun clause เหล่านี้จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม แต่ลำดับคำ (word order) ในอนุประโยคนี้ จะเป็นลำดับคำของประโยคบอกเล่า ไม่ใช่ลำดับคำของประโยคคำถาม เช่น
       I can’t tell you where he lives now.
       ผมไม่สามารถบอกคุณได้ว่าตอนนี้เขาอยู่ที่ไหน
จากประโยคข้างต้นนั้นเราจะไม่ใช้ where does he live now แต่จะใช้ where he lives now
      I don’t know why he comes here very often.
      ผมไม่รู้ว่าทำไมเขาถึงมาที่นี่บ่อยนัก
จากประโยคข้างต้นนั้นเราจะไม่ใช้ why does he come here very often แต่จะใช้ why he comes here very often
     Big John attempts to keep finding who he is nowadays.
     ทุกวันนี้ บิ๊ก จอห์นพยายามที่จะค้นหาตัวเองไปเรื่อยๆ
จากประโยคข้างต้นนั้นเราจะไม่ใช้ who is he nowadays แต่จะใช้ who he is nowadays
     I don’t know what you want from me.
     ผมไม่รู้ว่าคุณต้องการอะไรจากผมอีก
จากประโยคข้างต้นเราจะไม่ใช้ what do you want from me แต่จะใช้ what you want from me.
    2.2. การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ main clause กล่าวคือ ถ้า main clause เป็นคำถามจะใช้เครื่องหมาย question mark ปิดประโยค ถ้า main clause เป็นบอกเล่า จะใช้เครื่องหมาย full stop ปิดประโยค เช่น
      Could you tell me where Big John works so far?
      คุณบอกผมจะได้ไหมครับว่าบิ๊ก จอห์นทำงานที่ไหนทุกวันนี้
จากประโยคข้างต้นเราจะสังเกตุเห็นว่า Main clause เป็นคำถามดังนั้นจึงมีเครื่องหมายคำถามปิดประโยค
      I know why she loves me.
      ผมรู้ว่าทำไมคุณถึงรักฉัน
จากประโยคข้างต้นเราจะสังเกตุเห็นว่า Main clause เป็นบอกเล่าดังนั้นจึงมีเครื่องหมาย full stop ปิดประโยค
    2.3. ใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อแสดงให้คู่สนทนาทราบว่า เราไม่รู้ หรือเราไม่แน่ใจ เช่น
         I don’t know how much it takes from here to there.
       ผมไม่รู้ว่ามันจะใช้เวลาเดินทางจากที่นี่ไม่ที่นั่นเท่าไหร่
       Big John can’t estimate how much his mum loves him.
       บิ๊ก จอห์นไม่สามารถจะประมาณได้ว่าแม่รักเขามากแค่ไหน (ยากที่จะประมาณความรักของแม่ที่มีต่อลูก มากมายเหลือคณานับ)
       I can’t fix how much time you take to do this project.
       ผมไม่สามารถไปกำหนดว่าคุณจะใช้เวลามากเท่าไหร่ในการทำโครงการนี้
     2.4. ใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ เช่น
        Could you tell me where Big John is at the moment?
        คุณจะบอกผมได้ไหมว่าบิ๊ก จอห์นอยู่ที่ไหนในขณะนี้
       Can you tell me what time it is now?
       บอกผมได้ไหมว่าตอนนี้กี่โมงแล้ว

3. การใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย If หรือ Whethe
r
การใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    3.1. Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether คือ indirect yes/no questions นั่นเอง เช่น
        Direct Question: Did they pass the exam?
        Indirect Question: I don’t know if they passed the exam.
        ข้อความที่ขีดเส้นใต้คือ noun clause ที่ขึ้นต้นด้วย if นั่นเอง
    3.2. ลำดับคำในประโยค (word order) และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-Words
   3.3. จะขึ้นต้น Noun Clause ด้วยคำว่า if หรือ whether ก็ได้ แต่มักใช้ whether ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น
         Sir, I would like to know whether you prefer coffee or tea.
      Tell me if you want to go with us or not.
    3.4. ใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือความคิดคำนึง เช่น
       I can’t remember if I had already paid him.
       I wonder whether he will arrive in time.
   3.5. ใช้ Noun Clause ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อต้องการถามคำถามอย่างสุภาพ เช่น
      Do you know if the principal is in his office.
     Can you tell me whether the tickets include drinks?

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น